โรคในผู้สูงอายุ
ภัยเงียบ โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ
มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่วนมากไม่รู้ตัวเนื่องจากไม่แสดงอาการหรือแทบไม่มีอาการเรย กว่าจะพบส่วนใหญ่ก็จะมีอาการกระดูกหักไปเลย เนื่องจากเนื้อกระดูกที่บางลง ทั้งนี้ หากได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ควรเข้ารับการรักษา และระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตก หรือหักได้
ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนก่อนวัย
- โรคประจำตัว โรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นกระดูกพรุน เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อ รูมาตอยด์ต่างๆ โรคไทรอยด์ หรือกลุ่มที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร
- การใช้ชีวิตในประจำวัน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน ได้แก่ กลุ่มคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
ป้องกันและดูแลได้โดย
- ตรวจความหนาแน่นกระดูก (bone mineral density หรือ BMD)เพื่อบ่งบอกถึงความหนาบางของมวลกระดูกเมื่อเทียบกับค่ามวลกระดูกที่ปกติในผู้ใหญ่ทั่วไป วัยที่ควรตรวจผู้ที่อายุ 55 ปี ขึ้นไป
- รับประทานแคลเซียม อย่างน้อง 1000 มิลลิกรัม / วัน
- ควรตรวจระดับวิตามินดีในเลือด วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ดังนั้นหากวิตามินดีในเลือกต่ำ ร่างกายก็ดูดซึมแคลเซียมได้ต่ำเช่นกัน
- ไม่ควรออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักเยอะ อย่างหักโหม
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก bumrungrad.com, bangkokhospital.com, posttoday.com
- Categories
- สาระความรู้